ต้อนรับสู่บทความ
วิธีการทาน ใบย่านาง สมุนไพรปรับสมดุล ให้ได้ประโยชน์ สรรพคุณ รวมทั้งมีข้อควรระวังในการใช้ใบย่านาง ไม่ใช้กับผู้เป็นโรคไต
ปรับปรุง ม.ค.2564
รู้จักประโยชน์ และสรรพคุณใบย่านาง เต็มไปด้วยคลอโรฟิลดิ์ ทำให้ชลอความแก่ชรา จากการดับพิษร้อนในร่างกาย
ใบย่านาง คงความหนุ่มสาวด้วยสรรพคุณสมุนไพรเย็น ดับพิษร้อน ลดอุณหภูมิภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมเร็ว ที่สำคัญ ทานได้ตลอดชีวิตไม่มีพิษสะสม มีทั้งแบบแคปซูลใบย่านางและนำ้ใบย่านาง
ใบย่านาง เป็น พืชล้มลุก ปลายแหลมสีเขียวขอบเรียบมีดอกเล็กๆสีขาวอมเขียวเป็นช่อ มีผลกลมรีเล็กน้อยโตเท่าปลายนิ้วก้อยสีเขียวเป็นพวงเมื่อแก่จะมีสีส้มเป็นสมุนไพรที่ใช้เป็นยาและนิยมนำมาใช้กันมาก เพราะไม่พบความเป็นพิษหรืออาการข้างเคียงจากการใช้ สมุนไพรใบย่านาง ใบย่านางมีอยู่ 2 ชนิดคือ ใบย่านางขาว และ ใบย่านางแดง ให้สรรพคุณเหมือนกันทุกประการ
ข้อควรรู้ สมุนไพรแคปซูลย่านาง ความเข้มข้นดีกว่าน้ำใบย่านาง ทานได้ทุกที่ ไม่ต้องกังวลการบูดเสียแต่ต้องเลือกร้านที่ดีให้แน่ใจว่าไม่มีรา
ใบ มีรสจืดขม เป็นสมุนไพรปรับสมดุลภายในร่างกาย ถอนพิษ สรรพคุณยาเย็น แก้ไข้ แก้ไข้รากสาด ไข้พิษ ไข้เซื่องซึม ไข้หัว ลิ้นกระด้างคางแข็ง กวาดคอ แก้ไข้ฝีดาษ ไข้ดำแดง
เถา รสจืดขม รับประทาน ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้พิษ ไข้กลับไข้ซ้ำ
ราก รสจืดขม รับประทาน แก้พิษเมาเบื่อ กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้ แก้เมาสุรา ถอนพิษผิดสำแดง ใช้ปรุงยา แก้ไข้รากสาดไข้กลับ ไข้หัว ไข้พิษ ไข้สันนิบาต ไข้ป่าเรื้อรัง ไข้ทับระดู บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้พิษภายในให้ตกสิ้น แก้โรคหัวใจบวม แก้กำเดา แก้ลม
ใบย่านาง เป็นสมุนไพรที่นิยมใช้กันมากในอาหารของชาวอีสานทั่วไปนิยมนำ ใบย่านาง มาล้างให้สะอาดแล้วคั้นเอาน้ำสีเขียวเข้มจากใบย่านางนำมาประกอบอาหาร เป็นส่วนผสมของแกงลาวแกงส้มปลาร้าต่างๆของคนอีสานทำให้มี รสชาติอาหารดียิ่งขึ้น
ย่านาง จัดว่าเป็นสมุนไพรที่ดีอีกชนิดหนึ่งซึ่งแพทย์แผนโบราณของไทยนิยมนำมาใช้เป็นยารักษาโรคกันมาก ส่วนที่นำมาเป็นยาของ "ย่านาง" ได้แก่ รากต้นย่านาง และ ใบย่านาง โดยการนำรากต้นย่านางมาต้มเอาน้ำเพื่อรับทานใช้แก้อาการเป็นไข้ทุกชนิด หรือจะนำมาตากแดดเพื่อเก็บไว้เป็น ยาสมุนไพรก็ได้เช่นกัน
การใช้รากแห้งของต้นย่านางมาเป็นยาจะใช้สัก 1 กำมือล้างน้ำให้สะอาดเสียก่อนจากนั้นจึงนำไปต้มเคี่ยวให้ตัวยาละลายออกมาแล้วจึงนำน้ำที่ได้มาดื่มก่อนอาหารเช้า กลางวันและเย็น อาการไข้ต่างๆก็จะหายไป
สรรพคุณรองจาก การดับพิษภายในร่างกาย
มีการศึกษาและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ถึง สรรพคุณทางยาของย่านาง พบว่าย่านาง มีสาร อัลคาลอย สารโพลีแซคคาไรด์ สารโพลีฟีนอล แคลเซียมออกซาเลท สารต้านอนุมูลอิสระสูงและใน
ใบย่านางยังมีวิตามินเอและซีสูง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารอาหารสำคัญอื่นๆ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ไฟเบอร์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไทอะมีน ไรโบฟลาวิน และไนอะซีน สำหรับ
สรรพคุณในทางยา ย่านาง ถือเป็นยาเย็น มีความโดดเด่นด้านการดับพิษและลดไข้ โดยรากใช้แก้ไข้ทุกชนิด มีสรรพคุณทางยาหลากหลาย เช่น ปรับสมดุลภายในร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง ลดความอ่อนเพลีย ป้องกันมะเร็ง หรือบำรุงอวัยวะภายใน
แก้ผมร่วง แก้สิว ลดฝีหนอง ช่วยปรับสมดุลย์ภายในร่างกาย
ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น และทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นมากกว่าเดิม ลดอาการอ่อนเพลีย ลดเลือนริ้วรอยบนใบหน้า ชะลอความเสื่อมของเซลล์ ชะลอความชรา เนื่องจากเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระสูงจึง มีสรรพคุณเสริมความแข็งแรงให้กับร่างกาย บำรุงอวัยวะภายใน ทั้งยังช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น ลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ
น้ำคั้นใบย่านางผสมใบเตย
เมนูเพื่อสุขภาพ แก้ช้ำในคลายร้อนให้ความสดชื่น บำรุงสุขภาพได้เป็นอย่างดีมีวิธีทำดังนี้
1.ให้นำใบย่านางประมาณ 30-50 ใบ มาฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ รวมกับใบเตย แล้วตำให้ละเอียด
2.ผสมส่วนผสม 2 อย่างนี้กับน้ำประมาณ 4.5 ลิตรแล้วคนให้เข้ากัน จากนั้นกรองเอาเฉพาะน้ำเท่านั้น แล้วนำไปแช่ตู้เย็นไว้ ใช้ดื่มเป็นประจำทุกวันจะดีต่อสุขภาพที่สุด
ข้อควรระวังในการใช้ใบย่านาง
ไม่ควรใช้ใบย่านางกับผู้ป่วยโรคไต เพราะผู้ป่วยโรคไตไม่สามารถขับสารเหล่านี้ทิ้งตามปกติได้ ก็ทำให้เกิดการสะสมจนเป็นอันตรายต่อร่างกายได้นั่นเอง
นอกจากนี้ ใบย่านางยังมีฤทธิ์เย็น จึงไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการท้องอืดได้
ที่มา :
วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี : ย่านาง
บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล : ย่านาง ...อาหารที่เป็นยา
สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) : ย่านาง
สารบัญสินค้า ล่าสุด ม.ค.2564
ผงบุก ส้มแขก ไซเลียม |
|